top of page

ทางออกการแก้ปัญหาเศรษฐกิจชาติ

วันนี้ตอนแรกตั้งใจจะเขียน Blog เกี่ยวกับ การใช้โปรแกรมบัญชี มีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติได้อย่างไร เขียนไปเขียนมา กลายเป็นวิจารณ์การทำงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลซะนิ -_-"

การหาทางออกจากปัญหาเศรษฐกิจ มิใช่กระทำโดยขึ้นภาษีเพียงอย่างเดียว แต่มีวิธีการอื่นๆ อีก ได้แก่ การอาศัยวิธีการทางด้านการเงิน เช่น การใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นแรงจูงใจในการกระต้นเศรษฐกิจ เป็นต้น การอาศัยวิธีการทางด้านการคลัง เช่น การใช้นโยบายปรับลดอัตราภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจการซื้อการขายให้มีมากขึ้น ทำให้เงินทุนมีการหมุนเวียน เกิดสภาพคล่องในวงจรเศรษฐกิจ เป็นต้น การอาศัยมาตรการอุดหนุนของรัฐนอกเหนือไปจากวิธีการทางด้านการเงินการคลัง เช่น การค้ำประกันหรือรับจำนำสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งมีผลทำให้วงจรเศรษฐกิจหรือเงินทุนถูกขับเคลื่อนไหลเวียนดียิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการปฏิบัติเชิงนโยบายของตัวองค์กรบริหารสำคัญคือรัฐบาล ที่จะต้องควบคุมและทางปรับลดค่าใช้จ่ายลงภาครัฐลง รายจ่ายไหนไม่จำเป็นก็ไม่ต้องจ่าย เช่น รายจ่ายยุทโธปกรณ์ด้านทหาร ซึ่งรายจ่ายประเภทนี้แทบทุกประเทศพอเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจต้องมีการพิจารณาปรับลดก่อนรายจ่ายประเภทอื่นๆ แม้กระทั่งรัฐบาลอเมริกันเองก็มีการปรับลดรายจ่ายด้านกลาโหมลง ช่วงที่บารัก โอบามา เข้ารับตำแหน่งใหม่สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในช่วงวิกฤตซับไพรม์ รัฐบาลโอบามาเสนอแผนระยะยาวในการปรับลดงบกลาโหม จากปี 2010 ที่งบกลาโหมอยู่ที่ 722.1 พันล้านเหรียญ หรือ 4.9 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี เป็นลดลงเหลือ 698.2 พันล้านเหรียญ หรือ 3.6 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2015

นอกจากนี้สิ่งที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ มาตรการด้านการคลังด้วยการขึ้นภาษีหากขึ้นซี้ซั้ว ดีไม่ดีก็ขัดกับหลักการเปิดเสรีเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะภาษีจากสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าซึ่งนับวันกำแพงภาษีจะถูกทลายลงไปเรื่อยๆ ดังนั้น การแนวทางการแสวงหารายได้จากการขึ้นภาษีทั่วไปคือภาษีที่เก็บจากประชาชนและภาคธุรกิจทั่วไป ยกเว้นภาษีเงินได้ 2 ประเภทแล้วจึงหดสั้นลงทุกที รัฐบาลที่ดีจึงต้องวางแผนหาทางหารายได้เข้ารัฐทางอื่น เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุน มิใช่ มุ่งไปที่การเก็บภาษีอันเป็นแนวทางวิบัติในโลกสมัยใหม่

หากเป็นในช่วงขาลงของเศรษฐกิจ หรือเศรษฐกิจกำลังย่ำแย่ ผลกระทบของการขึ้นภาษีที่จะต้องสำเหนียกอย่างยิ่งก็คือ มันอาจนำไปสู่ความย่อยยับทางด้านเศรษฐกิจ นั่นคือ การล้มเป็นลูกโซ่ของระบบเศรษฐกิจทั้งประเทศ อาจเป็นเช่นเดียวกับเมื่อคราวที่เคยเกิดกับประเทศไทยสมัยต้มยำกุ้งปี 2540 ก็เป็นได้ หากรัฐไม่สามารถควบกุมกลไกเศรษฐกิจมหภาคได้

การขึ้นภาษีของรัฐในยามเศรษฐกิจวิกฤต ย่อมนำไปสู่ความตึงหรือความหนืดทางด้านเศรษฐกิจ เช่น หากมีการขึ้นอัตราภาษีเอากับเจ้าของที่อยู่อาศัยก็จะทำให้เจ้าของหรือผู้ซื้อที่พักอาศัยที่มีความลำบากจากเงื่อนไขของรายได้ที่น้อย (จากพิษเศรษฐกิจ) อยู่แล้ว ต้องลำบากขึ้นไปอีก จนต้องทิ้งที่อยู่อาศัยนั้นในที่สุด ส่งผลให้หนี้เสียในระบบเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดก็กระทบกับสถาบันการเงินในประเทศ และระบบเศรษฐกิจของทั้งหมด

จะสังเกตเห็นว่า เมื่อคราววิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 และลากยาวมาจนถึงปี 2012 เมือง หลายเมืองในสหรัฐอเมริกาถึงขั้นล้มละลาย (bankruptcy) เมืองหรือแม้แต่รัฐบาลกลางอเมริกันเองหันมาใช้นโยบายลดภาษีหรือเว้นภาษีให้สำหรับการลงทุนในเมืองที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ เช่น เมือง Vallejo ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ล้มละลายจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับผู้ที่ไปลงทุนในเมืองนี้ในขณะนั้น

การแสดงออกด้วยทีท่าว่าจะขึ้นภาษีเอากับประชาชนคือสิ่งที่แสดงออกอย่างหนึ่งว่าฐานะการคลังของประเทศนั้นกำลังมีปัญหา (อาจถึงขั้นรุนแรง) อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในอาการย่ำแย่ ทางออกด้านนโยบายการคลัง มิใช่การขึ้นภาษีเอากับประชาชน หากควรลดภาษีให้กับประชาชนเสียด้วยซ้ำ

ประเทศส่วนใหญ่ที่ปกครองโดยระบบประชาธิปไตยเลือกแนวทางการขึ้นภาษีกับประชาชนทั่วไปเป็นทางเลือกท้ายสุดทว่ามักจบลงด้วยเรื่องเศร้า แต่ส่วนใหญ่รัฐบาลของประเทศประชาธิปไตยเหล่านี้มักไม่เลือกแนวทางการขึ้นภาษี เพราะการขึ้นภาษีกับประชาชนทั่วไปนั้นแสดงว่ารัฐไร้กึ๋นในการบริหารเศรษฐกิจ หรือไม่ก็เศรษฐกิจประเทศนั้นใกล้ถึงกาลวิบัติเต็มที.

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

หมายเหตุ ที่มาบางส่วนจากเวปประชาไท อ้างอิง โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page