top of page

ศาสตร์และศิลป์แห่งการวางแผนการผลิต (ตอนที่ 1)

การวางแผนและควบคุมการผลิต

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดและให้เป็นที่พอใจแก่ความต้องการของลูกค้าความหมายของทรัพยากรในที่นี้รวมหมายถึงสิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิตเช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์แรงงานและวัตถุดิบ การใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดนั้น เป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงงาน โดย ผ่านหน้าที่ของฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต โดยมีหน้าที่เกี่ยวกับการพยากรณ์การวางแผน การ กําหนดงาน การวิเคราะห์การควบคุมสินค้าคงคลัง และการควบคุมการดําเนินงานการผลิต

ดังนั้น ในขั้นตอนของการวางแผน จะต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น จำนวนของสินค้าคงคลัง เครื่องจักร หรือ แรงงานที่สามารถใช้ได้ ณ เวลาหนึ่งๆ ระยะเวลาในการรอคอยของลูกค้า(ความเร่งด่วน) และต้นทุนที่เกี่ยวข้องมาช่วยในการตัดสินใจ การจัดส่งต่างๆ และอื่นๆตามในรูปที่ 1 แสดงถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องสำหรับการตัดสินใจวางแผนการผลิต

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

รูปที่ 1 แสดงผังการตัดสินใจในการวางแผนการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต

1 การจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling : MPS)

การจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) เป็นการจัดทําแผนการผลิตที่ระบุเจาะจงลงไปว่าจะ ทําการผลิตชิ้นงานอะไร จํานวนเท่าใด และจะต้องเสร็จสมบูรณ์เมื่อใด โดยทั่วไปมักจะจัดทํา ตารางการผลิตหลักเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ข้อมูลในตารางการผลิตหลักจะมาจากการแปลงค่าจากการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งอาจจะคํานวณ ตามหลักทางสถิติหรือมาจากใบสั่งซื้อของลูกค้า

2 การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning : MRP)

การวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) เป็นเทคนิคในการจัดการเกี่ยวกับความต้องการ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ เพื่อให้สามารถรู้ถึงปริมาณความต้องการในแต่ละ ช่วงเวลาและสามารถจัดหาได้อย่างเพียงพอและทันเวลา

โดยข้อมลจากตารางการผลิตหลัก (MPS) ซึ่งจะบอกถึงสิ่งที่จะต้องผลิตว่ามีจํานวนเท่าใด ในเวลาใด จากนั้นจะพิจารณาถึงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตว่าประกอบด้วยวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ อะไรบ้าง เพื่อจะใช้ในการจัดหา

3. การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (Capacity Requirement Planning : CRP)

การวางแผนความต้องการกําลังการผลิต (CRP) เป็นการจัดทําแผนที่เกี่ยวข้องกับการ กําหนดกําลังการผลิตที่จําเป็นสําหรับแต่ละสถานีงาน (Working Station) เช่น แรงงาน เครื่องจักร หรือปัจจัยการผลิตทางกายภาพอื่นๆ ว่าควรจะต้องมีปริมาณเท่าใด และต้องการในช่วงเวลาใด โดยจะรับข้อมลความต้องการวัสดุจาก MRP มาทําการประเมินผลเกี่ยวกับภาระงาน (Work Load) ของสถานีงานต่างๆ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

ที่มา: โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page