องค์กรแห่งการเรียนรู้ คืออะไร
คำว่าการเรียนรู้นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการเติิบโตขององค์กร ดังนั้นองค์กรที่ดีจะต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวไว้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นองค์กรที่ทำงานผลิตผลงานไปพร้อม ๆ กับเกิดการเรียนรู้ สั่งสมความรู้ และสร้างความรู้จากประสบการณ์ในการทำงาน พัฒนาวิธีทำงานและระบบงานขององค์กรไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง ผลลัพธ์ (Output) ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ผลงานตามภารกิจที่กำหนด การสร้างศาสตร์หรือสร้างความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจขององค์กรนั้น รวมทั้งการสร้างคน อันได้แก่ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กร หรือมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์กร จะเกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยอาศัยการทำงานเป็นฐาน องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะเป็นพลวัต (dynamic) มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของพัฒนาการด้านต่าง ๆ คล้ายมีชีวิต มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการสร้างนวัตกรรม (innovation) รวมทั้งมีบุคลิกขององค์กร ในลักษณะที่เรียกว่า วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์สามารถรู้สึกได้
แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Senge (1992) มีหลักการพื้นฐานทั้งสิ้น 5 ประการ ดังนี้
1. ความรอบรู้แห่งตน ( Personal Mastery ) ความเชี่ยวชาญ ( Proficiency) ของคนสามารถเข้าใจและชัดเจนในเป้าหมายของชีวิต สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตตนเองได้ สามารถค้นหาและกำหนดวิสัยทัศน์(Vision) ของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริง
2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model) หรือ โลกทัศน์ของตนเองที่เข้าใจต่อโลก ต่อหน่วยงาน องค์กร หรือธุรกิจ
3. วิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนทั้งองค์กรเป็ฯการสร้างทัศนะการร่วมมือทำงานกันอย่างมุ่งมั่นและไปในทิศทางเดียวกันของทั้งองค์กร
4. การเรียนรู้ของทีม (Team Learning) การถ่ายทอดความรู้ร่วมกันภายในทีม เพื่อเป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ภายใต้บริบทของการร่วมมือประสานงานกัน
5. การคิดอย่างเป็นระบบ ( Systematic Thinking) การที่บุคคลมีแนวคิดแบบองค์รวมสามารถมองภาพรวมของการทำงานได้อย่างเป็ฯระบบ ซึ่งช่วยให้มองเห็นรูปแบบปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ Marquardt (2002) ได้เสริองค์ประกอบที่ช่วยสนับสนุนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีก 2 ประการคือ
1. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งประกอบด้วยการจัดการความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ใหม่
2. การใช้เทคโนโลยี ( Technology Application ) หมายถึงการนำเอาความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถก้าวนำหน้าองค์กรอื่นๆได้
โปรแกรมบัญชี AccCloud.co เกิดจากประสบการณ์ และ การเรียนรู้จากหลายๆองค์กร ซึ่งพัฒนาร่วมกันมาเป็นความสามารถของโปรแกรมบัญชี
ที่มา www.acccloud.co