ตัวอย่างการวิเคราะห์ ROI และ ROE
ก่อนอื่นเรามาทราบก่อนว่า อัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผลกำไรและสัดส่วนการลงทุน ที่เรียกว่า ROI และ ROEคืออะไร โดยปกติแล้ว เงินลงทุนจะถูกแบ่งออกมาเป็น 2 ชนิดประเภทด้วยกันคือ "เงินทุนส่วนของเจ้าของ" โดยปกติ เจ้าของกิจการมักใช้ทุนส่วนตัวในการเริ่มต้น แต่ปกติแล้วถ้าทุนไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องหาเงินทุนเพิ่มเติ่มในรูปแบบต่างๆ ที่เรียกว่า "เงินทุนจากแหล่งอื่น" เช่น การกู้ธนาคารหรือ สถาบันการเงิน การออกหุ้นกู้ เป็นต้น เมื่อได้เงินทุนที่เพียงพอแล้ว จึงนำมาดำเนินกิจการจนเกิดผลกำไรสุดท้ายที่เรียกว่า กำไรสุทธิ ดังนั้น
ROI อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment, ROI ) จึงคำนวณจาก ฐานเงินลงทุนรวม (ทุนส่วนของเจ้าของ และ ทุนจากแหล่งอื่น ) เพื่อแสดงถึง ประสิทธิภาพการดำเนินงานว่า "การลงทุนครั้งนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาจากเงินลงทุนทั้งหมดได้กี่เปอร์เซนต์" ดังนั้น ยิ่งค่า ROI สูง จึงยิ่งดี
ROI = (กำไรจากการดำเนินการ / เงินลงทุนรวม ) x100%
ROE อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity, ROE ) คำนวณจากฐานเงินลงทุนเฉพาะส่วนของเจ้าของ เพื่อแสดงว่า "การนำเงินทุนตนเองมาลงทุนครั้งนี้ จะได้ผลตอบแทน กลับคืนมากี่เปอร์เซนต์" ดังนั้น ยิ่งค่า ROE สูง จึงยิ่งดี
ROE = (กำไรจากการดำเนินการ / เงินลงทุนส่วนเจ้าของ ) x100%
ตัวอย่างเช่น
"นาย ก ลงทุนโครงการสร้างโรงงานขาย ต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 25 ล้านบาท แต่ตัวเองมีเพียง 15 ล้านบาท นาย ก ได้ทำการกู้เงินสถาบันการเงินเพิ่มอีก 10 ล้านบาท หลังจากนั้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วขายหมด ได้กำไรสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.5 ล้านบาท"
จากตัวอย่าง พบว่า
เงินทุนส่วนของเจ้าของ 15 ล้านบาท
เงินทุนจากแหล่งอื่น 10 ล้านบาท
มีกำไรสุทธิ 7.5 ล้านบาท
จะได้ ROI = ( 7.5 / 25 ) x 100 = 30%
ROE = (7.5 / 15) x 100 = 50%
แสดงว่า การลงทุนนี้ นาย ก มีผลตอบแทน 50% มีผลตอบแทนทั้งโครงการ 30%
การวิเคราะห์งบการเงินในส่วนนี้ มีอยู่ในโปรแกรมบัญชี AccCloud.co หัวข้อรายงาน >> ระบบบัญชี >> วิเคราะห์งบการเงิน
ที่มา www.acccloud.co