top of page

โปรแกรมบัญชี กับ โปรแกรม ERP แตกต่างกันอย่างไร

โปรแกรมบัญชี

หลายท่านอาจจะรู้จักคำว่าโปรแกรมบัญชี กันเป็นส่วนใหญ่แล้วซึ่งความหมายของโปรแกรมบัญชี หลักๆคือทำหน้าที่บันทึกข้อมูลทางบัญชีและช่วยด้านการประมวลผลและ แสดงผลออกมาทางคอมพิวเตอร์ ในสมัยก่อน ข้อมูลทางบัญชีจะทราบและ จะมีการบันทึกทีหลังสุดหลังจากกระบวนการต่างๆ เช่นการซื้อ การขาย การจ่าย การรับเกิดขึ้นไปแล้ว ฝ่ายบัญชีถึงจะเอาข้อมูลมาบันทึกอีกหนนึง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูลไม่เป็นไปปัจจุบัน จะต้องรอ เป็นเดือนกว่าจะทราบข้อมูลทางบัญชี เช่นกำไรขาดทุน ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ได้ สิ่งที่เป็นผลเสียอย่างยิ่งคือ กิจการไม่ทราบสถานะปัจจุบัน ทำให้ตัดสินใจหลายๆอย่างผิดพลาด เช่นควรจะ Stock วัตถุดิบเท่าไหร่ ถึงเวลาตามหนี้ลูกหนี้รายไหนแล้วบ้าง

ในเวลาต่อมา กิจการต่างๆเริ่มขยายตัว และมีความซับซ้อนมากขึ้น การมาบันทึกข้อมูลต่างๆย้อนหลัง ย่อมไม่ทันเวลาและเกิดความสูญเสียมากขึ้น ดังนั้นโปรแกรมบัญชีจึงไม่สามารถตอบโจทย์ในด้านนี้ได้ จึงเป็นที่มาของโปรแกรมบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร หรือ ERP (Enterprise Resource Planning) ซึ่งจะประกอบไปด้วย โปรแกรมบัญชี โปรแกรมจัดการหน้าร้าน โปรแกรมบริหารการผลิต โปรแกรมบริหารบุคคล โปรแกรมติดตามการขายและลูกค้า (CRM) โปรแกรม E Commerce เป็นต้น ซึ่งทุกโปรแกรมจะทำงานข้อมูลเชื่อมโยงกันทั้งหมด ดังนั้น ข้อมูลจะเป็น Real Time อย่างแท้จริง

แต่ข้อเสียคือ ราคาแพง ไม่ใช่แพงธรรมดานะครับ ราคาเกือบเป็น 100 เท่าของโปรแกรมบัญชีเลยทีเดียว และ ใช้ได้แค่ Site งานที่เดียว ถ้าไปที่สาขาจะใช้ไม่ได้แล้ว เพราะโดยมากเป็นระบบ Client Server ถ้าจะต่อสาขาโดยมากจะต้องเสียค่าเชื่อม Lease Line ในราคาแสนแพงต่อเดือนเช่นกัน

ภาคธุรกิจในปัจจุบันนี้ อยากใช้โปรแกรม ERP แน่นอนครับ แต่โดยมากสู้เรื่องงบไม่ไหว เลยต้องจำใจใช้โปรแกรมบัญชีกันไปก่อน

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากโปรแกรมบัญชีทั่วไป สู่ระดับ ERP ในหลายๆฟังก์ชั่นการทำงาน ที่ทำงานได้เทียบเคียงกัน เช่นด้านการผลิต ด้านต้นทุนการผลิต ด้านการจัดการคลังสินค้า เป็นต้น ในราคาโปรแกรมบัญชี เท่านั้น ซึ่งถือว่าประหยัดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมาก

โปรแกรมบัญชี AccCloud.co

Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page