top of page

การนำเอานวัตกรรมด้าน Cloud Computing มาใช้ในงานด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมในยุค Thailand 4.0

การนำเอานวัตกรรมด้าน Cloud Computing มาใช้ในงานด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมในยุค Thailand 4.0

ในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันสูงมาก การเข้าสู่ตลาดไม่ว่าจะเป็นในด้านใด สามารถทำได้ง่ายไร้ซึ่งข้อจำกัดหลายๆประการดังเช่นสมัยก่อน เนื่องจากความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีของบุคคลทำได้ง่ายขึ้น โมเดลในธุรกิจทุกวันนี้หลายๆกิจการจึงเปลี่ยนมาเป็นการทำให้น้อยแต่ได้ผลมาก และการนำนวัตกรรมมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมจะต้องถูกขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ตามกรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนอุตสาหรรมไทยภายใต้โมเดล Thailand 4.0 ดังรุป

รูปที่ 1 กรอบแนวคิดในการขับเคลื่อนอุตสาหรรมไทยภายใต้โมเดล Thailand 4.0 ดังรุป (ที่มา: ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579), กระทรวงอุตสาหกรรม)

ดังนั้นในด้านของระบบผลิตในภาคอุตสาหกรรม การนำระบบสาระสนเทศในการบริหารองค์กรบนระบบ Cloud (Cloud Based ERP ) จึงนับเป็นสิ่งที่จำเป็นในอันดับต้นๆในการปรับตัวขององค์กร เพื่อประโยชน์ในด้านการบริหารต้นทุน และ การวางแผนจัดการการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันเวลาและและดูคุณภาพของสินค้าได้ทันที และติดตามด้านการเงินการบัญชี ตลอดจนขั้นตอนในการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่นเดียวกัน ในระบบ Cloud Based ERP จะประกอบไปด้วยส่วนงาน การขาย(Sale) การจัดซื้อ(Purchase) การควบคุมคลังสินค้า (Inventory) การผลิต (Production) การเงินรับชำระและจ่ายชำระ (Financial- Receive/Payment) การบัญชีและภาษีอากร( Accounting @ Tax) โดยที่ระบบจะทำงานผสานกัน เช่น ฝ่ายขายอาจจะอยู่ที่บริษัทลูกค้าและทำการออกใบเสนอราคาจากนั้นทำการ Order จากลูกค้า ฝ่ายขายเช็ค stock โดยหากในคลังมีสินค้าอยู่แล้วฝ่ายขายจะทำการจองสินค้าเพื่อขายแต่หากไม่มีของใน Stock ฝ่ายขายจะทำการแจ้งให้ฝ่ายผลิตไปทำการผลิตสินค้า จากนั้นฝ่ายผลิตจะทำการรวบรวม Order มาเพื่อทำการสั่งผลิต เช่นเดียวกับฝ่ายวางแผนวัตถุดิบว่าในปัจจุบันวัตถุดิบคงคลังเหลือเพียงพอผลิตหรือไม่ จะต้องสั่งซื้อกับ supplier มาเพิ่มจำนวนเท่าใด และ ฝ่ายวางแผนกำลังการผลิต จะต้องตรวจเช็คว่าเครื่องจักรสามารถรับกำลังการผลิตได้มากน้อยแค่ไหนในการผลิตให้ทันเวลา จากนั้นในขั้นตอนระหว่างการผลิตฝ่ายควบคุมคุณภาพจะต้องคอยตรวจสอบว่าจำนวนของเสียที่เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน เพื่อบันทึกเป็นประสิทธิภาพของกระบวนการการผลิต จนกระทั่งผลิตเสร็จจึงรับเข้าสู่คลังสินค้าสำเร็จรูปรอการออกใบส่งไปให้กับลูกค้าอีกทีนึง

ในระบบ ERP จะเริ่มจับกระบวนการตั้งแต่การเปิดรับ Order จากลูกค้าและนำไปเปิดใบแจ้งผลิตให้ฝ่ายผลิตเปิด Job งาน โดยที่จะต้องมีการ Set Up สินค้าสำเร็จรูปจะต้องมีสูตรการผลิต และ ต้องมีการกำหนดขั้นตอน พร้อมด้วยเครื่องจักรที่จะใช้ในการผลิตลงในระบบ จากนั้นทันทีที่มีการบันทึกรับ Order เข้ามาระบบจะทำการคำนวณหาสินค้าที่จะต้องสั่งซื้อมาใน Stock ให้อัตโนมัติ เพื่อให้ฝ่ายจัดซื้อออกใบสั่งซื้อไปยัง Supplier จากนั้นฝ่ายผลิตจะทำการออกใบ Job Order หรือใบสั่งผลิต เพื่อเป็นตัวตั้งต้นการทำงาน และ ทำการเบิกวัตถุดิบเพื่อทำการผลิต ในระหว่างการผลิตระบบจะทำการเก็บข้อมูลสินค้าระหว่างผลิตในแต่ละกระบวนการว่า สินค้าที่ดีและเสียจำนวนเท่าไหร่ จนกระทั่งผลิตเสร็จ ในระบบจะทำการให้ฝ่ายคลังทำการบันทึกรับสินค้าสำเร็จรูปเพื่อเก็บเข้าสู่คลังสินค้าสำเร็จรูป พร้อมด้วยต้นทุนการผลิตเข้ามาในตัวสินค้า ก่อนจะนำไปส่งมอบ อย่างไรในกระบวนการการส่งมอบโดยปกติแล้วในโรงงานจะมีรถส่งของของตนเอง ดังนั้นในระบบ ERP จึงมีระบบการจัดรถขนส่งเพื่อให้ฝ่ายจัดรถระบุรถให้ไปส่งกับลูกค้าได้

โดยในระหว่างที่มีการออกบิลขายตัวระบบเก็บต้นทุนขายในแต่ละบิล ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงกำไรขาดทุนเบื้องต้นต่อบิลได้ในทันที จากนั้นจะเป็นขั้นตอนในการวางบิลเก็บเงิน ออกใบเสร็จรับเงิน และ รับเงินเข้าระบบ ทั้งนี้ในระบบ ERP ประกอบด้วยส่วนงานบัญชี การเงิน ที่สามารถติดตามการรับชำระ ดูสถานบิลคงค้างที่ยังไม่ได้เก็บเงิน หรือ ดูว่าเช็คใบไหนที่ยังไม่ได้ขึ้นเงินบ้างได้

นอกเหนือจากนี้ในระบบ AccCloud.co (ERPBYDIP) ยังมีระบบเสริมการทำงานอีกหลายส่วนเช่น ระบบ Warehouse Online, Point Of Sale , Production Tracking ,PO Online และ อื่นๆ ที่เป็นตัวเสริมเพื่อช่วยในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี ระบบ ERP ที่ดีในยุคปัจจุบันจะต้องจำเป็นที่จะต้อง On Cloud เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุค Thailand 4.0 ที่ทุกสิ่งอย่างจะต้องเชื่อมโยงเป็นสิ่งเดียวกัน(Connectivity) ทำงานแบบพร้อมๆกัน (Collaboration) และ สามารถติดตามการทำงานได้อย่างในปัจจุบัน(Real Time) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการที่ผู้บริหารสามารถทราบถึงผลการทำงานและสามารถตัดสินใจ เช่นจะรับหรือไม่รับงาน จะตั้งราคาขายเท่าไหร่ หรือ จะดูว่าสินค้าที่ผลิตไปแล้วดีหรือเสียมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนในยุคปัจจุบันธุรกิจจะเน้นแข่งขันกันที่เทคโนโลยี และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไม่ได้ไกลตัวอีกต่อไป ดังนั้นในวันใดที่คู่แข่งหรือ คู่ค้าของเรามีเทคโนโลยีที่สูงกว่า นั่นหมายถึงเขาสามารถบริหารจัดการได้ด้วยเครื่องมือที่ประสิทธิภาพสูงกว่า หากเราปรับตัวไม่ทันนั่นย่อมหมายถึงในอนาคตตัวของเราอาจจะไม่สามารถอยู่ในตลาดได้ในระยะยาว

Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page